พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐาน ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเซอร์ แอร์รี่ ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศอื่นที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และเป็นที่มาของการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอนุสรณ์สถานแด่พระองค์
จากคัมภีร์พุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ส่งอิทธิพลสำคัญต่อความคิดความเชื่อ ของผู้คนชาวไทย เรื่องภาพแห่งจักรวาล คือ ภพทั้ง 3 แห่ง สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพแห่งจักรวาลคือวิชาการดาราศาสตร์ยุคใหม่ของการศึกษาถึงความเป็นไปในเอกภพ ด้วยข้อมูลความจริงด้วยความคิดและเหตุผลโดยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักการของวิทยาศาสตร์แผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นประตูสู่โลกยุคใหม่ การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ ถือเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชาติไทย โดยพระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้คำนวณด้วยพระองค์เองต่อหน้าคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และแขกเมืองชาวต่างประเทศ ถือเป็นการเสี่ยงต่อการสูญเสียพระเกียรติยศอย่างยิ่ง แต่พระองค์ก็ทรงกระทำการคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำสมศักดิ์ศรีที่ชาวไทยคำนวณสุริยุปราคาได้แม่นยำมานานนัก ดังเช่นพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทางด้านวิทยาศาสตร์ บริเวณโดยรอบจะแสดงเครื่องใช้ของพระองค์ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งของที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ได้นำมาตั้งแสดงให้พสกนิกรได้ชมอย่างใกล้ชิด
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐาน ณ อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเซอร์ แอร์รี่ ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศอื่นที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และเป็นที่มาของการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอนุสรณ์สถานแด่พระองค์
จากคัมภีร์พุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ส่งอิทธิพลสำคัญต่อความคิดความเชื่อ ของผู้คนชาวไทย เรื่องภาพแห่งจักรวาล คือ ภพทั้ง 3 แห่ง สวรรค์ มนุษย์ และบาดาล แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพแห่งจักรวาลคือวิชาการดาราศาสตร์ยุคใหม่ของการศึกษาถึงความเป็นไปในเอกภพ ด้วยข้อมูลความจริงด้วยความคิดและเหตุผลโดยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักการของวิทยาศาสตร์แผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นประตูสู่โลกยุคใหม่ การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ ถือเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชาติไทย โดยพระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้คำนวณด้วยพระองค์เองต่อหน้าคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และแขกเมืองชาวต่างประเทศ ถือเป็นการเสี่ยงต่อการสูญเสียพระเกียรติยศอย่างยิ่ง แต่พระองค์ก็ทรงกระทำการคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำสมศักดิ์ศรีที่ชาวไทยคำนวณสุริยุปราคาได้แม่นยำมานานนัก ดังเช่นพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทางด้านวิทยาศาสตร์ บริเวณโดยรอบจะแสดงเครื่องใช้ของพระองค์ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งของที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ได้นำมาตั้งแสดงให้พสกนิกรได้ชมอย่างใกล้ชิด
ที่เห็นว่า ลูกกลมน่ากิน นี้ มีชื่อที่เตะหูว่า มะม่วงหาว มะนาวโห่ อีกชื่อหนึ่งคือ หนามแดงที่ราชบุรี สมุทรสงคราม ก็มีปลูกกันมาก บางคนบอกว่า แถวมีนบุรี ก็มีปลูกริมทางตอนที่ผลยังดิบ จะมียาง ดังนั้นหากใครคิดจะหยิบมากิน ด้วยเห็นว่าลูกกลมน่ารัก คล้ายกับองุ่น ก็ต้องยั้งใจไว้ก่อน ควรจะเด็ดให้ลืมต้น (เป็นแนวคิดสำหรับผลไม้ทั่วไปด้วย เพราะเราไม่ทราบว่า ร่างกายจะแพ้อะไรบ้าง แม้แต่ผลไม้บางอย่าง เช่น มะม่วง ที่เรากินตอนปกติไม่เป็นไร ผลไม้จำพวกที่มียาง คงจะต้องพึงระวัง แทบทุกอย่างละค่ะ) มีคนนำผลไม้ชนิดนี้ไปทำไวน์ ตอนงานประกวดไวน์ ปลายปีก่อน เพราะเป็นเทศกาลการผลิตไวน์ จาก ผลไม้ไทย รสชาดของ มมห มมห ก็คือ เปรี้ยว พอจะกินได้ แต่อาจจะจิ้มเกลือเผื่อกลบความจัดจ้านของมันก็ได้เหมือนกัน อยู่ที่เทคนิคการกินของแต่ละคนประโยชน์ของมัน ก็คือ ใช้รักษาอาการปอดทั้งหลาย แต่ปอดแหกไม่เกี่ยว พวกที่เป็นถุงลมโป่งพอง กินแล้วก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ ในกระดานสนทนาบางแห่งเขาบอกว่า ช่วยเกี่ยวกับอาการโลหิตจางด้วย ซึ่งก็น่าจะเกี่ยวกัน เพราะว่ามันช่วยในเรื่องปอด ปอดทำหน้าที่ฟอกเลือด ดังนั้นน่าจะสัมพันธ์กันได้ แต่ไม่ว่าใครจะบรรยายสรรพคุณไว้เลิศล้ำอย่างไร ถ้าเราจะนำมากิน เบื้องต้นควรจะทดลองดูก่อน ก็คือ กินแบบชิมลางจริงๆ สักหลายๆ วัน จนไม่ส่งผลกระทบในแง่ลบ แล้วก็สังเกตว่า กินแล้วมีส่วนใดที่ดีขึ้นมาบ้าง ไม่กินจนมากเกินไป เพื่อเร่งผลให้เกิดเร็ว แบบคนใจร้อน เพราะทุกอย่างก็เหมือนกันหมด คือ ต้องมีความพอดี สมดุล สำหรับแต่ละบุคคลค่ะ
MI-6
จำนวนข้อความ: 618Registration date: 14/10/2008
http://nonlaw.7forum.net/forum-f1/topic-t455.htm
MI-6
จำนวนข้อความ: 618Registration date: 14/10/2008
http://nonlaw.7forum.net/forum-f1/topic-t455.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น